ปุ๋ยชนิดอื่น ใช้แล้วก็หมดไป พืชดูดไปใช้บางส่วน ถูกชะล้าง และระเหิดไปบางส่วน ต้องคอยเติมอยู่เรื่อยๆ และจะมีธาตุอาหารเพียง 3-4 ชนิด ตามที่ระบุในสูตรปุ๋ย ใช้มากๆดินแข็ง แน่นทึบ
👉 แต่มูลไส้เดือน 🪱 นอกจากจะมีธาตุอาหารแล้ว ยังมี สิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วที่สุด ที่หลุดมาจากลำไส้ของไส้เดือน นั่นคือ ✨” จุลินทรีย์ ” ✨มากมาย หลายร้อยชนิด
👉 ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มหลักดังนี้
1. กลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง
(Photosynthetic microorganisms)
ในมูลของไส้เดือน จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะอยู่ในรูปของไนเตรท แอมโมเนีย ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ รวมถึงโพแทสเซียมในรูปที่พืชและจุลินทรีย์เล็กๆภายนอกจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที
2. กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก
(Zynogumic หรือ Fermented microorganisms)
ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสารต้านทาน ถ้าเปรียบจะคล้ายๆกับเม็ดเลือดขาวในมนุษย์ ช่วยให้สารพิษต่างๆที่มากับอินทรียวัตถุถูกย่อยสลายได้ดีขึ้น 🔅มีส่วนช่วยลดและป้องกันโรคต่างๆในพืช และสัตว์บางชนิดได้ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่าง ๆ ได้🌍🍀❤️
3. กลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน
(Nitrogen fixing microorganisms)
เป็นพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซ อ๊อกซิเจน ไนโตรเจนจากอากาศ ในรูปที่พืชใช้ไม่ได้มาสู่ดิน และช่วยแปรสภาพ ให้อยู่ในรูปที่พืชใช้ได้
4. กลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก
(Lactic acids)
เมื่อไส้เดือนขับถ่าย มูลไส้เดือนจะมีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่จะเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ 🔅ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินที่แข็งหรือดินเสียก่อโรค🔅ให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ร่วนซุย เอื้อต่อการดำรงชีวิตของไส้เดือนในดิน ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมขจัดสารพิษและของเสียต่างๆในดินและน้ำได้เป็นอย่างดี💦💧🪵
🍄”มูลไส้เดือน”🪱
จะมีส่วนประกอบของ”กรดฮิวมิคซึ่งเป็นตัวกักเก็บธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชหลายชนิด เช่น
✅ฟอสฟอรัส (P)
✅โพแทสเซียม (K)
✅แคลเซียม (Ca)
✅เหล็ก (Fe)
✅ทองแดง (Cu)
ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในโมเลกุลของกรดฮิวมิค 👉อยู่ในรูปพร้อมใช้ และจะถูกปลดปล่อยออกมาเมื่อพืชต้องการ
👉🏻มูลไส้เดือนมีฮอโมนต่างๆ👈🏻
คือ ✅ฮิวเมท (humates)
✅ออกซิน (auxins)
✅ไคเนติน (kinetins)
✅จิบเบอเรลลิน (gibberellin)
✅ไซโตไคนิน (cytokinin)
เป็นตัวควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ความสำคัญของสารอินทรีย์เหล่านี้ มีหน้าที่ต่างๆ เช่น กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์พืช ทำให้รากรับอาหารไปใช้ การหันหน้าของดอกไม้เข้ารับแสงแดด ควบคุมความยาวของเซลล์และแม้กระทั่งทำหน้าที่เป็นสารต้านการแก่ตัวของพืชไม่ให้เน่าเปื่อยเร็ว นอกจากนั้นยังค้นพบว่ามีเอนไซม์ไคติเนส (kitinase) ซึ่งสามารถละลายไคตินสารชีวะเคมีชนิดหนึ่งที่ประกอบกันเป็นเปลือกชั้นนอกของแมลง ด้วยเหตุนี้มูลไส้เดือนดินจึงมีฤทธิ์ในการขับแมลงด้วย🐛🦗🐞